@ทำไมไม่มีใครคลิก Ad เลย

วันก่อนได้มีโอกาศเข้าชม digitalmoneylife.com 
ได้เจอกับบทความหนึ่งที่..อื้อหือ..ถูกใจมาก ก็เลยขอก็อบมาแบ่งปันกันอ่าน เจ้าของคงไม่ว่าหรอก หุหุ..
ลองอ่านดูนะครับ
ช่วงหลังๆ มานี่ผมคงจะมาโพสน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากงานหนังสือ และงานเว็บเริ่มมากขึ้น เว็บที่เปิดๆ ไว้เริ่มขยายเครือข่ายออกไปเหมือนเป็นเชื้อ Virus ทำให้ต้องหยุดบล็อกทางนี้ไว้เป็นช่วงๆ ต้องขออภัยทุกท่านด้วย วันนี้ผมพอมีเวลาเล็กน้อย เลยจะเอาเรื่องที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่สุดในตอนนี้มาให้ทุกคนได้อ่าน ซึ่งจะเป็นแค่โพสสั้นๆ คือ เรื่อง การคลิก PPC Ad หรือ AdSense ของผู้ชมสมัยนี้ ที่เดี๋ยวนี้คลิกกันน้อยลง เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งถ้าใครพบว่าตัวเองทำเว็บ whitehat แล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ คือมีคนเข้าเพียบ แต่ไม่มีคลิกเลย แม้แต่คลิกเดียว เหมือนกับบล็อก DML แห่งนี้ ซึ่งผมก็รู้ดีอยู่แล้วว่าทำบล็อกแบบนี้ไม่มีใครคลิก Ad หรอก แต่ก็ทำเพราะอยากทำ และโพสนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ได้มากสำหรับทุกคนที่เจอเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ ซึ่งผมจะมาแจกแจงให้ฟังดังนี้


ทำไมไม่มีใครคลิก Ad เลย

เหตุผลที่ 1. เห็นแล้วรู้แล้วว่า ad มันคืออะไร
หลังที่ Google AdSense เกิดขึ้นมาได้จะสิบปี ป่านนี้นักท่องเว็บทุกคนจำกันได้หมดแล้วว่าคลิกไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น การเห็น ป้ายโฆษณา Contextual Ad ก็เหมือนสัญญาณบอกเหตุไม่ให้คลิกนั่นเอง ดังนั้น ถ้าคุณพบว่าเว็บคุณมีคนเข้ามากมาย แต่ไม่มีใครคลิก คุณ ก็ต้องลืมกฎทุกอย่างวิธีทุกวิธีที่เคยเรียนรู้มา อย่างเช่นของการทำให้ ad กลมกลืนกับเว็บ เพราะมันไม่ช่วยอะไรอีกต่อไปแล้ว แล้วปรับเปลีี่ยนให้หน้าตาของ Ad ประหลาดขึ้น เปลี่ยน font เปลี่ยนสีให้ประหลาดๆ ไม่ให้จำได้ ไม่ให้เหมือนเดิม ลองเอาไปทำดู ขนาด ezinearticles.com ยังเปลี่ยน font ของ ad ซะแปลกประหลาด ผมว่าเขาก็คงเจอปัญหาเดียวกันนี้เองแน่นอน



เหตุผลที่ 2. บทความดีเกินไป!!
ใช่แล้วครับ คุณได้ยินไม่ผิดแน่นอน สิ่งนี้ถูกทดสอบมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ถ้าคุณจัดหาบทความดีๆ ยาวๆ ครบถ้วนกระบวนความ ให้ความรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้อ่านก็จะไม่รู้สึกว่าต้องการอะไรเพิ่มอีก ดังนั้น ก็จะไม่มีการคลิกเกิดขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าคุณให้บทความที่ขาดๆ เกินๆ อ่านไม่รู้เรื่อง หรือมีแค่ไทเทิ้ล ให้ฉงวยงวยงง ผู้อ่านก็จะได้รับความรู้สึกที่อยากจะหลีกหนี หรือต้องการจะหาข้อมูลเพื่ออ่านต่อ และผลที่ตามมาก็คือ หาอะไรที่ใกล้ที่สุดคลิกไปก่อน เพื่อจะได้ออกจากที่ตรงนั้น



เหตุผลที่ 3. คุณทำ Whitehat
เหตุผลนี้ก็จะคล้ายๆ กับ ข้อ 2 นั่นเอง บางครั้งทำเว็บหน้าตาแย่ๆ ปั่นบทความมั่วๆ ก็ทำให้โอกาสการได้รับคลิกมีมากกว่า ซึ่งถ้าผมพูดแบบนี้เมื่อ 3-4 ปีก่อน ทุกคนคงหาว่าผมบ้า แต่วันนี้ทุกอย่างมันได้เปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่คนจำ ad กันได้หมดว่าคลิกเข้่าไปแล้วจะเจออะไร แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ ว่าทำ whitehat แล้วจะไม่มีคนคลิก มันขึ้นอยู่กับประเภทของบททความด้วย ซึ่งดูได้จากเหตุผลต่อไป



เหตุผลที่ 4: บทความของคุณไม่ได้เขียนมาเพื่อผู้ซื้อ
บทความมีหลายประเภท ต่อละประเภทก็จะดึงดูด traffic คนละแบบกันเข้ามา ผมเคยทำเว็บเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเครื่องคอม มีคนเข้ามากันล้นหลาม แต่ไม่มีคนคลิก ก็เพราะว่าคนที่เข้ามาสนใจแต่การแก้ปัญหาเครื่องคอมของเขาเท่านั้น และบทความของผมก็ให้คำตอบได้อย่างครบถ้วนจริงๆ ซึ่งพอเขาได้คำตอบครบ เขาก็จะไม่สนอะไรอย่างอื่นอีกต่อไป พอได้คำตอบก็ปิดเว็บผมทันที ทำให้ไม่เกิดคลิกขึ้น ดังนั้นบทความที่จะทำให้เกิด traffic ที่มีคนคลิก ก็จะมีสองอย่าง อย่างแรก บททความที่มีเนื้อหาไม่ครบ แล้วตามด้วยป้ายโฆษณา หรือ ถ้าแบบถูกทำนองคลองธรรมก็จะเป็น บทความที่พูดถึงการเลือกซื้อ ซื้ออย่างไร ซื้อราคาแบบไหน ซื้อรุ่นอะไรดี (product review) นั่นแหละที่จะดึงดูด traffic ที่กำลังคิดจะซื้ออะไรบางอย่าง ที่จะทำให้ป้ายโฆษณา affiliate หรือป้าย adsense เกิดการคลิกขึ้น จบข่าว

http://www.digitalmoneylife.com/

@การจ่ายเงินเพื่อ submit URL



การจ่ายเงินเพื่อ submit URL
ขอให้คุณจงหลีกเลี่ยงการใช้บริการรับ submit URL กับเสิร์ชเอ็นจิ้นทั้งหลายแหล่
ด้วยโปรแกรมอัฉริยะ submit ครั้งเดียวได้เป็นร้อยเสิร์ชเอ็นจิ้น (ตามที่มีโฆษณาอยู่เกลื่อนเน็ต)
เพราะทั้งหมดหลอกเอาเงินจากเรากับแค่งานง่ายๆ นอกจากนี้เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า
คนที่เอาเงินจากเราไปจะ submit URL ให้เราจริงหรือเปล่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หน้าเว็บของการ submit ของทุกเสิร์ชเอ็นจิ้น ต่างป้องกันการใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติในการลงทะเบียน ด้วยการบังคับให้ผู้ใช้งานกรอกตัวอักษรที่มองเห็นจากรูปภาพที่เตรียมไว้ ลงในกล่องรับข้อมูล ซึ่งมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะสามารถมองเห็น
เพราะฉะนั้น หุ่นยนต์ซอฟต์แวร์...หมดสิทธิ์...
ในเรื่องการ submit URL ทำด้วยตัวเองดีที่สุดครับ

@เทคนิคการใช้คีย์เวิร์ดในการขายสินค้า



เทคนิคการใช้คีย์เวิร์ดในการขายสินค้า
มีเพื่อนๆผมหลายคน ได้โทรมาคุยปรับทุกข์แบบเซ็งๆว่า “ทำไมหว่าเปิดเว็บขายของมาตั้งนานแล้วยังขายไม่ได้ซักกะบาท” ทั้งๆที่เว็บก็ติดเสิร์ชในอันดับต้นๆ
วันนี้ผมจะมาขยายให้เพื่อนๆได้รู้กันครับ ซึ่งเป็นประสบการณ์จริงของผมเองครับ
ตัวผมเองมีเว็บขายของอยู่หลายเว็บ ในระยะแรกๆผมก็ขายไม่ได้เลยเหมือนกันครับ ก็เลยมานั่งคิดว่าเพราะอะไร คนเข้าเว็บต่อวันก็ไม่น้อยเลย แล้วมันเป็น ส.ก.บ. อะไรถึงไม่มีออร์เดอร์
ผมใช้เวลาวิเคราะห์อยู่หลายวัน เฝ้าดูคนเข้าเว็บว่าเข้ามาทางไหน ไปที่ไหนบ้าง แล้วไปออกที่ไหน
ผลที่ได้คือ 80% เข้าหน้าบ้านแล้วไม่ไปไหนต่อ (ปิดเว็บเราเลย)
มีเพียง 3% ที่ไปหลายแห่ง(หน้า)เหมือนหาอะไรสักอย่างแต่คงไม่เจอ (ถ้าเจอเราคงได้ออร์เดอร์)
ทีนี้ผมก็มาดูว่าเขาใช้คีย์เวิร์ดอะไรจึงได้เจอเว็บเรา
คนที่เข้ามาดูหลายหน้าส่วนใหญ่ใช้คีย์เวิร์ดด้วยคำสั้นๆ
คนที่เข้ามาหน้าเดียว 90% ใช้คีย์เวิร์ดที่ยาว เรียกว่าเจาะจงมากๆ
เอาล่ะ...ได้การล่ะ(ผมคิดได้ปั๊บลงมือทำปุ๊บ)
***ได้เวลาสรุปแล้วครับ***
หากเราต้องการเน้นที่จะขายของ เราจะต้องใช้คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงในตัวสินค้าของเรา
วิธีการ แยกสินค้าของเราที่เคยรวมกันอยู่ในหน้าละหลายๆอย่าง ให้เป็นหน้าละอย่าง แล้วเล่นที่ไตเติ้ลของแต่ละหน้าแต่ละสินค้า อัดคีย์เวิร์ดที่เป็นคุณสมบัติของสินค้าแบบเต็มๆ ทำแบบนี้จนกว่าจะครบตามจำนวนสินค้าของเรา แต่ไม่ต้องเอาหน้าเว็บที่เราสร้างขึ้นใหม่นี้มาผูกไว้กับเมนูหรอกนะครับ ลูกค้าจะเจอหน้านี้ก็ต่อเมื่อใช้คีย์เวิร์ดตรงกับไตเติ้ลที่เราสร้างไว้
นั่นย่อมหมายความว่า คนที่เข้ามาเจอเราหน้านี้...เขาคือลูกค้าของเรา 99% ครับ อีกหนึ่งเปอร์เซนต์เผื่อไว้เรื่องราคาน่ะครับ หุหุ..
ทุกวันนี้ผมจะมีออร์เดอร์เข้ามาเรื่อยๆไม่ขาด ก็เพราะคีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงนี่แหละครับ

@ใครๆก็อยากเป็นเบอร์หนึ่ง



ผมเชื่อว่าทุกคนก็อยากที่จะให้เว็บของตนติดอันดับใน Search Engines ชื่อดังต่าง ๆ เช่น Google Yahoo และ MSN นั้น การที่จะให้เว็บของตนติดอันดับที่ดีทั้ง 3 ที่ ในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งอัลกอริธึมของทุกเจ้ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้ผมจึงขอแนะนำ เพื่อน ๆ ได้ลองอ่านกันครับ

1. ถ้าทำให้ติดทั้งหมดไม่ได้ ก็ให้เลือกอันที่ดีที่สุดอันเดียว แล้วโฟกัสไปที่ตรงนั้น
เพราะ อัตราการใช้งานไม่เท่ากัน อันดับ 1 ยังคงเป็น Google เช่นเดิมและผมแนะนำให้เลือก Google เป็นหลัก เหตุผลเพราะในหลายคำนั้น ติดอันดับ 1 ใน Yahoo และ MSN รวมกันยังไม่เทียบเท่าติด 1 ใน 10 อันดับแรกใน Google ด้วยซ้ำ

2. จำนวนของลิ้งค์ไม่ใช่สิ่งสำคัญไปกว่า คุณภาพ
เรา ทุกคนต่างรู้ว่าลิ้งค์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่ออันดับใน Google, Yahoo และ MSN แต่เพื่อให้อันดับเว็บของเรายั่งยืน ไม่ตกแม้ว่าอัลกอริธึมจะเปลี่ยนไป ผมแนะนำให้คุณหาเฉพาะลิ้งค์คุณภาพเท่านั้น ลิ้งค์ต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยง

- ลิ้งค์ที่มาจากเนื้อหาซ้ำ ๆ กันภายใต้ซับโดเมนหลาย ๆ อันบนโดเมนหลักอันเดียวกัน
- ลิ้งค์ที่มาจากหน้าที่มีแต่ลิ้งค์เยอะ ๆ อย่างเดียว ไม่มีเนื้อหาใด ๆ เลย
- ลิ้งค์ที่ได้มาฟรีจาก Spam Network เช่น ลิ้งค์ฟาร์ม เว็บริง (Web Ring)

3. ให้ความสำคัญคุณภาพของเนื้อหา
ใน ปัจจุบันเสิร์ชเอ็นจิ้นได้พยายามที่จะคัดกรองคุณภาพของเนื้อหาที่ปรากฎบน เว็บเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ซ้ำ ๆ กันในอินเด็กซ์ของตนเอง เนื้อหาที่เขียนขึ้นมาโดยอาศัยวิธีปั่นเยอะ ๆ หรือใช้โปรแกรมเขียนจะถูกกรองออก ส่วนเนื้อหาที่มีคุณภาพ จะถูกนำมาแสดงผลมากขึ้น ถ้าอยากให้อันดับเว็บของคุณมั่นคง การนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพคือเรื่องสำคัญ ซึ่งจะเป็นแนวโน้มต่อไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อ Google เข้าใจภาษาไทยได้มากขึ้นแล้ว เว็บที่ใช้วิธีสแปมทั้งหลายในปัจจุบันก็จะถูกกรองออกไปจำนวนมากเช่นกัน

@เทคนิคการโพสต์เว็บบอร์ด

เทคนิคการโพสต์เว็บบอร์ด

จ่าหัวเรื่องแบบนี้ หลายๆคนคงคิดว่าผมจะมาแนะนำวิธีการโพสต์ให้เร็ว หรือให้ได้หลายๆเว็บในเวลาเล็กน้อยใช่รึเปล่าครับ

เทคนิคแบบนั้นผมได้เขียนไว้แล้วครับ แต่ไว้สำหรับ “นักธุรกิจเครือข่าย” โดยเฉพาะ

สำหรับที่นี่ ที่ SEO GOLD แห่งนี้คนที่เข้ามาอ่านบทความ แน่นอนครับ..ต้องเป็นwebmaster 90%

(อีก 10% กำลังจะเป็น)

มือใหม่ส่วนใหญ่ เวลาจะโปรโมทเว็บของตน โดยวิธีการโพสต์เว็บบอร์ด มักจะใช้URL ของโดเมนหลักเพียงอย่างเดียว

http://www.โดเมน.com น้อยมากครับที่จะใช้โดเมนย่อยหรือ subโดเมน ในการโพสต์

ซึ่งวิธีที่ถูกต้องก็คือ โพสต์ URL ของทุกหน้าเว็บที่เรามีนั่นแหละครับ ดีแน่ๆครับ

เวลาพี่ Google เค้าปรับ PR เว็บเราจะได้ไม่มีแถบเขียวอยู่หน้า index หน้าเดียว

@เทคนิค ง่ายๆ ในการสร้าง Content ให้ติดอันดับ Search Engine อย่างรวดเร็ว

หลังจากที่ได้ศึกษาการทำ Seo มาซักระยะ พบว่า “เนื้อหา” มีผลต่อการติด Search Engine เป็นอย่างมากในการทำ Seo มากกว่าการทำ Black link มาก ผลจากการทำ Seo โดยไม่ใช้ Black link เลยซักนิดเดียว ก็สามารถขึ้นไปยืนอยู่ที่ 1 ของผลการค้นหาได้แบบสบายๆ ซึ่งผมคิดว่าหลักสำคัญในการทำ Seo อยู่ที่ “เนื้อหา” แต่จะทำยังไงให้เนื้อหาติด Search engine ได้ละ? การเขียนเนื้อหาให้ติดอันดับนั้น ต้องใช้เวลาในการคิดเนื้อหาจาก Keyword พอสมควร ซึ่งผมก็มีเทคนิคดีๆ มาฝาก เกียวกับการสร้าง “เนื้อหา” ให้ถูกใจ Google มาฝากสำหรับเพื่อนๆ ที่มองข้ามจุดนี้ไปครับ

1. ใช้ Keyword ตามความนิยมของ Keyword คืออะไร?
ในการสร้างเนื้อหา ปัจจัยหนึ่งที่ google จับตามองมากๆ ก็คือ เนื้อหาใหม่ที่ไม่ใช่ไป copy เนื้อหาเก่าๆ
จำ้ไว้ว่า Google จะไม่เหลียวมองในข้อมูลที่ Google มีแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ การสร้างเนื้อหาใหม่

2. การใช้ Keyword ใส่ลงในเนื้อหา ข้อนี้หลายๆ คนคงรู้แล้ว แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญของ Keyword ให้กระจาย
ในเนื้อหาพอสมควร ไม่มากเกินไป เพราะ Google คงไม่สนใจแต่ Keyword. เนื้อหาต่างๆมีผลต่อ Google มากไม่
น้อยไปกว่า Keyword เลย

3. การสร้างเนื้อหา ตามความนิยมของ Keyword เช่น Keyword นี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไรที่สำคัญอยู่บ้าง website
ที่ติดอันดับต่างๆ นั้น มีเนื้อหาอะไรติดตา Google ซึ่งก็คือการเขียนเรื่องราวที่กำลัง Hot อยู่นั้นเอง หรือคิดง่ายๆ ก็คือ
ถ้าเราเป็นคน Search Keyword คำนี้ เราต้องการจะรู้อะไรใหม่ๆ ในตอนนี้

4. ไม่เขียนเรื่องสเปะสปะ ก็คือการเขียนเนื้อหาให้สัมพันธ์กันภายใน website โดยใช้
Keyword ทีมีผลการค้นหาสูงๆ หรือกำลัง Hit มาสร้างเนื้อหาใหม่นั้นเอง ซึ่งจะทำให้ Google คิดว่า website เรา
กำลังสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ตาม Trands ที่กำลังนิยมอยู่ แล้ว Google ก็จะตามง้อเรานั้นเอง ง่ายๆก็คือนำ Keyword
หลายๆตัวที่มีผลการค้นหาสูง มาแยกสร้างเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ใน website ของเรา ให้รู้ว่า web เราพูดถึงอะไร

5. การส่งบทความสู่ website อื่นๆ เช่น Zickr! DigZa หรือ website ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Keyword เท่านั้น
ยกตัวอย่าง ถ้าเขียนบทความเกี่ยวกับ บ้านน่าอยู่ คุณไปโปรโมทบทความที่ website เกี่ยวกับ อาหาร ก็จะถูก
Google มองว่ามันเกี่ยวอะไรกัน ข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน ไปอยู่ใน web อาหารทำไม อย่าคิดว่า Google ไม่รู้นะครับ
มันส่งผลเสียต่อเนื้อหาของคุณมาก อย่าหวัง Traffic จนลืม เนื้อหา

6. ข้อนี้อาจจะดูแปลกๆ แต่ยืนยันนอนยันว่า จริง! ก็คือการเขียนเนื้อหาในภาษาของ Google ครับ… งงไหม?
ภาษาของ Google คืออะไร ?… สังเกตุดูเวลาเข้าไปใน Google Help หรือปล่าวครับ ภาษาที่ Google สื่อถึงเรา
อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ ไหม นั้นแหละคือภาษาของ Google.. Google ใช้การตีความภาษาของ Google เองในการ
สร้างพี่ทึ่มขึ้นมาใช้ในการประมวลผล ว่าเนื้อหาเราเขียนยังไง Google เข้าใจว่าอะไร หลายๆคนก็คงมองข้ามจุดนี้ไป
แล้วจะเขียนยังไงละ ? สังเกตุดู Google จะใช้ภาษาฟังแล้วเป็นวิชาการ มาอธิบายให้เข้าใจ และตรงประเด็น
ไม่เขียนนอกเรื่อง เขียนอะไรจะสื่อความหมายออกมาโดยใช้ประโยคสุภาพ
เช่น “วันนี้ผมมีความคิดดีๆเกียวกับการหลักการทำอาหารมาฝากเพื่อนๆกันครับ”
ภาษา Google จะเขียนว่า “ความคิดเกี่ยวกับหลักการทำอาหาร”
เห็นไหมครับว่า Google จะใช้หลักภาษาที่ชัดเจนในการสื่อความหมาย โดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาออก แล้วเรียบ
เรียงมาอธิบาย

@ก่อนตัดสินใจเช่าโฮส



ข้อมูลของคุณ จะสำคัญมากน้อย มันก็เป็นข้อมูลของคุณ หากคุณกำลังมองหาคนที่จะมาทำหน้าที่ในการรับฝากข้อมูลของคุณ คุณต้องคิดให้ดี ‘เลือกให้ดี’ เพราะถ้าตัดสินใจผิด ข้อมูลของคุณอาจจะหายหมดไม่มีเหลือ เงินค่าโฮสที่เสียไปก็จะไม่ได้คืน หรือกว่าจะได้คืนก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก
เลือกผู้ให้บริการที่จดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทดีที่สุดครับ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดากรุณางดเว้น (อย่าเห็นแก่ของถูกครับ) ถ้าผู้ให้บริการเป็นรูปบริษัทเขาจะมีขอบเขตความรับผิดชอบ มีคนดูแลคุณตลอดเวลาทำงานของเขา แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ความรับผิดชอบมีน้อย หรือไม่มีเลย บริษัทเหมือนจะมีขั้นตอนในการติดต่อที่เป็นระบบดูจะยุ่งยากเสียเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว โฮสโดยบุคคลธรรมดาอาจใช้เวลาจัดการอะไรให้คุณได้ช้ามาก กรณีเกิดปัญหา บางทีก็ไม่อยู่ ติดต่อทีไรก็ไปนู่นนี่นั่นตลอด รับสายบ้างไม่รับบ้าง ยังไม่ตื่นบ้าง ดูหนังอยู่บ้าง โฮสคุณมีปัญหา แม่ยายเขาป่วยอยู่ คุณก็ต้องรอ

อ่านระเบียบสัญญาของโฮสเขาให้ดี เพราะส่วนใหญ่เขาเขียนเพื่อเข้าข้างตัวเอง เช่น หากเขาทำข้อมูลสูญหายจะไม่รับผิดชอบ เป็นต้น ถ้าข้อมูลของคุณสำคัญมากถึงสำคัญมากที่สุด คุณต้องแนบสัญญาในส่วนของคุณให้เข้าเซ็นต์ด้วย
เช่น ถ้าโฮสทำข้อมูลสูญหาย ข้อมูลของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ ต้องชดใช้เท่าไหร่ อย่างไร
ถ้าโฮสล่มโดยสาเหตุเกิดจากผู้ให้บริการ จะต้องถูกปรับค่าอะไรบ้าง เท่าไหร่ก็ระบุลงไป
ไม่งั้นวันดีคืนร้ายผู้ให้บริการทำข้อมูลของคุณสูญหาย คุณจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย แล้วผู้ให้บริการเขาก็จะไม่รับผิดชอบอะไรเลยด้วย

อย่าหลงเชื่อข้อความโฆษณา โฮสดี ราคาถูก บริการด้วยใจ ไม่พอใจ ยินดีคืนเงินใน 30 วัน อะไรเทือก ๆ นี้ มีข้อความพวกนี้อยู่ในเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ ส่วนใหญ่ก็สร้างภาพ

ข้อมูลการชำระเงิน ใบเสร็จที่ใช้ในการโอนเงินให้โฮส เก็บรักษาเอาไว้ให้ดี วันหนึ่งคุณอาจต้องใช้มันครับ

เลือกโฮสที่มีเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อย่างน้อยคุณก็สามารถตรวจสอบ ชื่อจริงและนามสกุลของผู้ให้บริการได้ ในกรณีมีปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ คุณสามารถขอความช่วยเหลือให้ช่วยไกล่เกลี่ยได้ แต่อย่าคาดหวังผล เพราะทางกรมฯ เขาไม่มีอำนาจอะไรจะไปจัดการกับพวกโฮสไม่ดี
กรณีโฮสไม่ดี ทำข้อมูลของคุณสูญหาย กฎหมายเิปิดโอกาสให้คุณฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายได้ (ขั้นตอนยุ่งยากและเสียเวลามาก)

การฟ้องเอาผิดในทางอาญาแทบเป็นไปไม่ได้เลยครับ

สำรองข้อมูลของคุณด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอครับ ถ้าข้อมูลในโฮสของคุณเกิดสูญหาย อย่างน้อยข้อมูลที่คุณสำรองเอาไว้ด้วยตัวเองก็ยังอยู่
http://www.daydayday.net/

@Google pagerank update?

Google Pagerank เหมือนจะมีอาการแปลกๆ ดังนั้น สิ่งหนึ่งคืออยากให้เตรียมตัวกันไว้นะครับ ซึ่งผมเองคาดว่า ในสองอาทิตย์นี้ น่าจะมีการอัพเดท Google pagerank ใหม่เข้าไปนะครับ เพราะ ณ วันนี้ Google Datacenter บางตัวเริ่มมีอาการเรียกข้อมูล pagerank ไม่ค่อยได้บ้างแล้วอ่ะนะครับ

ซึ่งจริงๆแล้วเจ้าค่า Google pagerank นี้ผมเองไม่ได้อยากให้ทุกท่านไปมองเป้าที่มันเท่าไหร่ครับ พอรู้ไว้ประดับบารมี แต่ที่ผมต้องมาเขียนถึงทุกๆ รอบเพราะว่า

"แทบทุกครั้งของการ update pagerank จะมีการ update backlink"

และมันมักจะมีผลต่ออันดับอย่างเลี่ยงไม่ได้ ครับ สำหรับท่านที่แวะเข้ามาอ่านควรจะรู้และเตรียมตัวไว้นะครับ เช่น

- ดูแล server อย่าให้ตายบ่อย ทั้ง web, database
- อย่าเพิ่งย้ายเว็บ ย้ายโดเมนในช่วงนี้
- server อย่าเพิ่งย้าย อย่าเพิ่งเปลี่ยน ip ในช่วงนี้
หลักๆ มีอยู่สอง-สามประการนี้อ่ะนะครับ พยายามอย่าเพิ่งทำอะไรกับมัน อดทนรออีกซักอาทิตย์สองอาทิตย์ดูสถานการณ์ ก่อนอ่ะนะครับว่า มันอัพเดทอะไร แค่ไหนบ้าง

และรอจนมันอัพเดทเสร็จ ที่นี้จะย้ายจะขยับขยายอ่ะไร ก็ทำได้เลยครับ

by admin www.eblogbiz.com

@SQL คืออะไร

เอสคิวแอล (SQL)
เอสคิวแอล (SQL) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมฐานข้อมูลที่รองรับมากมาย เพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MsSQL, PostgreSQL หรือ MS Access เป็นต้น สำหรับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมคือ MySQL เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ทั้งใน Linux และ Windows


SQL เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ เราสามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ
2. Update query ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล
3. Insert query ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูล
4. Delete query ใช้สำหรับลบข้อมูลออกไป

Select query
ใช้ในการดึงข้อมูลในฐานข้อมูล จะมีการค้นหารายการจากตารางในฐานข้อมูล ตั้งแต่หนึ่งตารางขึ้นไป ตามเงื่อนไขที่สั่ง ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเซตของข้อมูลที่สามารถสร้าง เป็นตารางใหม่ หรือใช้แสดงออกมาทางจอภาพเท่านั้น โดยมีรูปแบบดังนี้
Select รายละเอียดที่เลือก From ตารางแหล่งที่มา Where กำหนดเงื่อนไขฐานข้อมูลที่เลือก Group by ชื่อคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งาน
1. Select fmane,lname From stdinfo
หมายถึง ให้แสดงเฉพาะคอลัมน์ fname คือ ชื่อ และคอลัมน์ lname คือ นามสกุล จากตาราง stdinfo

2. Select fname,lname From stdinfo Where programe=”สังคมศึกษา”
หมายถึง ให้แสดงชื่อ และนามสกุลจากตาราง stdinfo ซึ่งมีโปรแกรมวิชาเป็นสังคมศึกษา

3. Select fname From stdinfo Where fname Like ‘ส%’
หมายถึง ให้เลือกรายชื่อ นักศึกษาที่มีอักษรนำหน้าเป็น “ส” ขึ้นมาแสดงทั้งหมด

4. Select id,fname,lname From stdinfo Where id=”001” AND id=”005”
หมายถึง ให้แสดง รหัสประจำตัวนักศึกษา ,ชื่อ และ นามสกุล ที่มีรหัสเป็น 001 และ 005

ข้อสังเกต
1. ประโยคย่อย WHERE เราสามารถระบุเงื่อนไขได้โดยใช้โอเดปอร์เรเตอร์ ทั้วไป เช่น NOT < > = กรณีที่คอลัมน์เป็นตัวเลข เราก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เป็นการคำนวนได้เช่น +,-,*,/

2. คำว่า Like ใช้กับค่าในคอลัมน์ประเภทตัวอักษรว่าตรงกับประโยคที่ต้องการหรือไม่ เราสามารถใช้เครื่องหมาย widecard เช่น *,??,% ในประโยคได้ ตามตัวอย่างข้างต้น
3. ในการคำนวนนั้นมีฟังก์ชัน COUNT,SUM,AVG.MIN,MAX ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ เช่น
Select Count(id) From stdinfo
หมายถึง ให้แสดงจำนวนรายการทั้งหมดในตาราง
4. ในกรณีที่ตารางสองตารางมีความสัมพันธ์กัน เราก็สามารถดูข้อมูลทั้งสองตารางพร้อมกันได้ เช่น ตารางที่ 1 ข้อมูลนักศึกษาชื่อ stdinfo
กำหนดให้มีคอลัมน์รหัสประจำตัว (id) ,ชื่อ (fname), นามสกุล (lname)
ตารางที่ 2 ขอมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน ชื่อ substd
กำหนดให้มีคอลัมน์ชื่อวิชา (subject), รหัสประจำตัวอ้างอิง (rid) ,อาจารย์ผู้สอน (teacher)
เราต้องการดูข้อมูลรหัสประจำตัว ชื่อ นามสกุล และชื่อวิชาที่เรียน เราจะใช้คำสั่งดังนี้
Select stdinfo.id, stdinfo.fname,stdinfo.lname,substd.subject From stdinfo,substd Where stdinfo.id=substd.rid

Update query
ใช้สำหรับการแก้ไขข้อมูลในตาราง โดยแก้ในคอลัมน์ที่มีค่าตรงตามเงื่อนไข มีรูปแบบดังนี้
Update ชื่อตาราง Set [ชื่อคอลัมน์=ค่าที่จะใส่เข้าไปในคอลัมน์นั้น ๆ ] Where เงื่อนไข
เช่น จากตารางแสดงรายชื่อนักศึกษากรณีที่นักศึกษาชื่อ สมบัติ มักน้อย ย้ายโปรแกรมวิชา จาก สังคมศึกษา ไปเป็นภาษาไทย เราใช้คำสั่งดังนี้
Select stdinfo Set programe=’ภาษาไทย’ Where Fname=’สมบัติ’ and Lname=’มักน้อย’

Insert query
ใช้ในการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปในฐานข้อมูล มีรูปแบบดังนี้
Insert Into ชื่อตาราง [=ชื่อคอลัมน์1,2..] Values [ค่าที่จะใส่ลงในคอลัมน์ 1,2…]
เช่น ต้องการเพิ่มรายชื่อนักศึกษา ที่มีรหัสประจำตัวเป็น 007 ชื่อ กมลวรรณ ศิริกุล โปรแกรมวิชา วิทยาศาสตร์ เราสามารถใช้คำสั่งดังนี้
Insert into stdinfo (id,fname,lname,programe) Values (‘007’,’กมลวรรณ’,’ศิริกุล’,’ วิทยาศาสตร์’)

Delete query
ใช้ลบข้อมูลออกจากตาราง มีรูปแบบดังนี้
Delete From ชื่อตาราง Where เงื่อนไข
เช่น ต้องการลบรหัสประจำตัวนักศึกษา 005 ออกจากฐานข้อมูล เราใช้คำสั่งดังนี้
Delete From stdinfo Where id=’005’

MySQL (มายเอสคิวแอล)
MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL. แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ

MySQL สร้างขึ้นโดยชาวสวีเดน 2 คน และชาวฟินแลนด์ ชื่อ David Axmark, Allan Larsson และ Michael “Monty” Widenius.

ปัจจุบันบริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems, Inc.) เข้าซื้อกิจการของ MySQL AB เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ภายใต้ MySQL AB ทั้งหมดจะตกเป็นของซัน

ชื่อ “MySQL” อ่านออกเสียงว่า “มายเอสคิวเอล” หรือ “มายเอสคิวแอล” (ในการอ่านอักษร L ในภาษาไทย) ซึ่งทางซอฟต์แวร์ไม่ได้อ่าน มายซีเควล หรือ มายซีควล เหมือนกับซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลตัวอื่น

การใช้งาน
MySQL เป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์ เช่น มีเดียวิกิ และ phpBB และนิยมใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรม PHP ซึ่งมักจะได้ชื่อว่าเป็นคู่ จะเห็นได้จากคู่มือคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่จะสอนการใช้งาน MySQL และ PHP ควบคู่กันไป นอกจากนี้ หลายภาษาโปรแกรมที่สามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ซึ่งรวมถึง ภาษาซี ซีพลัสพลัส ปาสคาล ซีชาร์ป ภาษาจาวา ภาษาเพิร์ล พีเอชพี ไพทอน รูบี และภาษาอื่น ใช้งานผ่าน API สำหรับโปรแกรมที่ติดต่อผ่าน ODBC หรือ ส่วนเชื่อมต่อกับภาษาอื่น (database connector) เช่น เอเอสพี สามารถเรียกใช้ MySQL ผ่านทาง MyODBC,ADO,ADO.NET เป็นต้น

@ภาษาพีเอชพี (PHP) คืออะไร

พีเอชพี (PHP)
พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

ชื่อของพีเอชพี
ภาษาพีเอชพี ในชื่อภาษาอังกฤษว่า PHP ซึ่งใช้เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ จากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page

คุณสมบัติ

การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้


การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML


เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมทำธุรกรรมทางการเงิน


การรองรับพีเอชพี
คำสั่งของพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งทำให้การทำงานพีเอชพี สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนคำสั่งแล้วนำมาประมวลผล Apache, Microsoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอื่นๆ อีกมากมาย. สำหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถทำงานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของคำสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น


พีเอชพีสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลได้หลายชนิด ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBX ซึ่งทำให้พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC (Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้


พีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อื่นๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับสำหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพื่อเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน

@ว่าด้วยเรื่องข้อห้ามในการทำเว็บ

หลีกเลี่ยงการใช้ Hidden text หรือ hidden Link
ห้ามใช้วิธี Cloaking หรือ การทำ Redirect ที่ไม่ถูกต้องเพื่อผลทาง SEO
ห้ามทำการส่งคำค้นหาแบบอัตโนมัติ
ห้ามด้วยส่งคำสั่งในการค้นหาแบบอัตโนมัติ แทน การค้นหาผ่าน google หรือโค้ดการค้นหา/ซอฟแวร์ที่ได้รับอนุญาติจาก google
ห้ามทำเว็บเพจที่มี keyword ไำม่เกี่ยวกับเนื้อหาในเว็บเพจนั้น ๆ เช่นหากคุณทำเว็บเพจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแต่ใช้ keyword ประเภทการปลูกพืช การทำอาหารคน เป็นต้น
ห้ามสร้างหน้าเว็บ Subdomain หรือ Domain อื่นที่มีเนื้อหาภายในเหมือนกันอย่างชัดเจน
หลีกเลี่ยงการใช้วิธี "doorway page " ซึ่งเป็นการสร้างหน้าเว็บขึ้นเพื่อ Search Engine เท่านั้น หรือใช้วิธีการที่เรียกว่า " Cookie Cutter " ซึ่งเป็นวิธีการสร้างหน้าเว็บเพจเป็นร้อยๆพันๆหน้าทำการ redirect ไปยังหน้าเว็บที่ต้่องการ(ส่วนใหญ่จะ redirect ไปยังหน้าเว็บเพจที่กำลังทำ SEO อยู่)
นอกเหนือไปจากข้อแนะนำ ข้างต้น จาก Guideline ของ Google ยังแนะนำว่า การทำเว็บเพื่อผู้ใช้ แทนการหาวิธีโกง Search Engine นั้นจะมีโอกาสที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่า อีกทั้งทาง Google จะตรวจสอบวิธีการโกง Search Engine อย่างต่อเนื่อง

ที่มา Google Webmaster Guideline

@ว่าด้วยเรื่องแนวทางการทำเว็บอย่างมีคุณภาพเบื้องต้น

จัดทำเว็บเพจ/เว็บไซต์เพื่อผู้ใช้ ไม่ใช่เพื่อ Search Engine ห้ามใช้วิธีที่เรียกว่า " Cloaking " โดยเด็ดขาด วิธี Cloaking คือ กลวิธีทางเทคนิคการทำ Cloaking คือการบิดเบือนข้อมูลต่อ Search Engine โดยหน้าเว็บเพจที่แสดงให้ Search Engine เห็น จะแตกต่างจากหน้าเว็บเพจสำหรับผู้ใช้ อย่างในกรณีล่าสุดคือ BMW.de
หลีกเลี่ยงการใช้วิธีการโกงหรือ ทริกใด ๆ ก็ตามเพื่อเพิ่มอันดับของเว็บของตน วิธีง่ายที่ในการเว็บไซต์ให้ลองถามตนเองว่า "เว็บเพจที่ทำอยู่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้มั้ย ในกรณีที่ ไม่มี Search Engine "
ห้ามเข้าร่วมกับเว็บไซต์ที่ทำขึ้นเพื่อ เพื่อผลในการเพิ่ม Pagerank และควรหลีกเลี่ยงการทำลิ๊งก์ไปยังพวกเว็บสแปมเมอร์ หรือเว็บที่ทำขึ้นเพื่อผลทาง SEO เท่านั้น เพราะนั่นอาจจะมีผลต่ออันดับของคุณอันเนื่องมาจากลิ็๊งก์เหล่านั้นนั่นเอง
ห้ามใช้โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาิติสำหรับใช้เพื่อการSubmit เว็บไซต์หรือเว็บเพจ หรือ เพื่อตรวจสอบอันดับ เนื่องจากซอฟแวร์ดังกล่าวทำให้เกิดการศุนย์เสียทรัพยากรในการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังละเมิดเงื่อนไขการให้บริการสืบค้นของ Google ด้วย( Term Of Service ) ตัวอย่างของซอฟแวร์ที่ว่า ได้แก่ WebPosition Gold?

@ว่าด้วยเรื่องการออกแบบและเนื้อหาบนเว็บ

Google ได้ให้ข้อแนะนำในการออกแบบเว็บไซต์และการนำเสนอเนื้อหาบนเว็บไว้ดังนี้

ทำเว็บไซต์ของคุณให้มีโครงสร้างและ Text link ที่ชัดเจน และทุกหน้าควรมี link ที่นำไปสู่หน้า Static Page อย่างน้อยหนึ่งหน้า ดังนั้น ใครที่กำลังทำไดนามิกเว็บไซต์คงต้องกลับมามองเพจเพจที่เป็น Static webpage ดูบ้างครับ


ทำ sitemap ที่ประกอบไปด้วย link ที่นำไปสู่หน้าหลักสำคัญของเว็บไซต์ โดย site map นั้นควรมี link ไม่เกิน 100 link ในหนึ่งหน้า ถ้าเกินก็ควรแบ่งเป็นหลายหน้า


สร้างเว็บไซต์หรือเว็บเพจแบบ information-rich หรือ เน้นเนื้อหาจริง ๆ ถูกต้องและชัดเจน ฉะั้นั้นเว็บไซต์ืที่มีลูกเล่นเทคนิคบนเว็บแพรวพราวแต่เนื้อหากระจิดริดคงไม่ใช่สิ่งที่ google อยากแนะนำนัก

ก่อนเขียนเนื้อหาหรือคำใดลงบนเว็บเพจ ควรคิดเสียก่อนว่าผู้ใช้จะใช้คำใดบ้างในการค้นหาเว็บ แล้วจึงนำคำนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาบนเว็บเพจ


พยายามใช้ "ตัวหนังสือ(text)" มาแสดงในส่วนสำคัญของเนื้อหาในเว็บเช่น เนื้อเรื่อง หรือ ชื่อหรือ link แทนการใช้ Image หรือ รูปภาพ เช่นหากหน้าเว็บคุณนำเสนอเรื่องของ " เที่ยวระยอง " คุณก็ควรใช้คำว่า " เที่ยวระยอง " แทนการใช้รูปภาพว่า เนื่องจาก Google Spider จะไม่เข้าใจเรื้อความใน image นั้น


ข้อความในแท็กTITLE และ ALT จะต้องเป็นข้อความที่อ่านแล้วได้ใจความและถูกต้อง TITLE คือเนื้อความที่ปรากฏอยู่บนสุดของบราวเซอร์ที่คุณใช้อยู่นั่นแหละครับสำหรับหน้านี้คือ "From Google Webmaster Guideline" ส่วน ALT คำอธิบายภาพที่เมื่อเอา mouse ไปวางบนรูปก็จะปรากฏคำอธิบายขึ้นมา่อย่างเช่่น อย่าง Image เอา mouse มา่ชี้ก็จะแสดงคำว่า "image "


ตรวจสอบว่ามี link เสียหรือคลิ๊ก link แล้วไม่มี link ที่ว่านั่น รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของไวยกรณ์ใน HTML


สำหรับพวกไดนามิกเว็บไซต์อย่างเช่นพวกเว็บไซต์ php, asp, aspx ฯลฯ ซึ่งมีี parameter(URL ที่มีเครื่องหมาย ? )ก็ควรทำให้มีจำนวน parameter น้อย ๆ ไว้เพราะ Search Engine ส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บหน้าเว็บที่มี parameter มากๆได้เท่ากับหน้าที่เป็น Html ตัวอย่างของ URL ที่มี parameter มากเช่น www.thinkandclik.com/index.php?view=activity;sub=detail;sub1=detail ฯลฯ


จำนวน link ในเว็บหนึ่งหน้าไม่ควรเกิน 100 links

@เว็บแรงเพราะ SEO ดี



ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง เว็บแรงเพราะ SEO ดี

สำหรับ 2 วลีแรกในชื่อบทความคงเป็นสำนวนที่ท่านผู้อ่านได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วใช่ไหมครับ ผมจึงคิดว่าเนื้อหาของบทความนี้ควรเน้นไปที่วลี เว็บแรงเพราะ SEO ดี ในปัจจุบันการทำเว็บไซต์เรื่องง่ายขึ้นทุกวันๆ เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือ/โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยในการบริหารจัดการเว็บมากมาย ทั้งที่อยู่ในรูป CMS เช่น WordPress, Joomla, Mambo, PHPNuke เป็นต้นส่วนเรื่องการจัดการหรือตกแต่งรูปภาพก็ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นเยอะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้การทำเว็บไซต์ง่ายขึ้นจริงๆ
สำหรับคำว่า SEO (Search Engine Optimization) หมายถึงกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์เว็บเพจให้เป็นที่รู้จักของ Search Engine หากสามารถแสดงได้ในหน้าหนึ่งของการค้นหาถือว่าเป็นการดียิ่ง เพราะทุกวันนี้หากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการหาข้อมูลหรือสินค้า บริการต่างๆ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะค้นหาข้อมูลผ่านทาง Search Engine เป็นหลัก ผ่านทาง Major Search Engine (www.google.com, www.yahoo.com, www.msn.com) ทั้งสิ้น โดยมีวิธีการง่ายๆ ที่เรียกว่าการทำ SEO เบื้องต้นดังนี้

1.ทำหน้าเว็บเพจทุกครั้งอย่าลืมใส่ Keyword ลงในแท็ก Title และ Meta
2.การตั้งชื่อไฟล์ทั้งไฟล์เว็บเพจและไฟล์รูปภาพควรให้สอดคล้องกับ Keyword
3.ทำเว็บเสร็จอย่าลืม Summit URL เว็บตาม Search Engine และ Web Directory
4.การทำ Back Link กลับมายังเว็บไซต์ของเราไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำเว็บขึ้นมาใหม่หรือการแลกเปลี่ยนกับเว็บไซต์อื่นๆ ถือว่าเป็นเรื่องดียิ่ง
5.การแทรกข้อความที่เป็น Keyword ลงใน Image ALT tags ทุกครั้งที่แทรกรูปภาพลงในเว็บเพจ
6.การตั้งซื่อโดเมนเนมให้สอดคล้องกับ Keyword จำง่ายมีความเป็นสากล
7.มีการไปฝาก Link ไว้กับเว็บที่รับฝาก Link เช่น ThaiBlog.info
ทั้ง 6 วิธีการเป็นการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์อย่างง่ายๆ แต่สำหรับเว็บไซต์ที่ออกอากาศใหม่ๆ อย่าใจร้อนครับเพราะยังไงก็ต้องเจอกับ Google Sandbox Effect กันทุกเว็บไว้จะเราให้ฟังอีกครับ


i-startblog

@Java Script คือยาขม

JavaScript คือ ภาษายุคใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 ซึ่งเป็นเจ้าของผู้พัฒนาโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ Web Browser อันโด่งดังในอดีต เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript JavaScript สามารถทำให้ การสร้างเว็บเพจ มีลูกเล่น ต่าง ๆ มากมาย และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันที เช่น การใช้เมาส์คลิก หรือ การกรอกข้อความในฟอร์ม เป็นต้น
คุณแปลกใจเหมือนผมไหมครับว่าทั้งที่ Ads ของทาง Google เองก็พัฒนาหรือสร้างขึ้นโดยใช้ภาษา JavaScript แต่ปรากฎว่า Search Engine กับมองไม่เห็น java script เลย หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมันภาษาจาวาไม่ออกนั่นเองครับแล้วมันก็จะไม่มีผลต่อการทำ SEO (Search Engine Optimization) อีกนั่นแหละครับ เป็นที่รู้กันในหมู่คนทำเว็บบล็อกที่เน้นเรื่องการทำ Google Adsense รู้ดีว่า Java Script คือยาขม อย่าให้มีภาษาจาวาสคริปต์ในหน้าเว็บเพจ หรือถ้าจำเป็นก็มีได้ในจำนวนที่น้อยๆ แล้วพวกเราจะทำอย่างไรดี ในเมื่อคนที่เข้าเว็บของเราต้องการลูกเล่น ไม่ได้ต้องการเว็บนิ่ง Static Web เพราะมันไม่น่าสนใจครับ

ครับสำหรับวิธีการจัดการปัญหาเรื่องภาษา JavaScript สามารถแก้ปัญหาได้โดยการแยกส่วนของชุดคำสั่ง SourceCode ที่เป็นภาษาจาวาสคริป์ออกจากส่วนที่เป็นภาษา HTML โดยการใช้โปรแกรมเท็กอิดิเตอร์ทั่วไป เช่น EditPlus หรือ Note Pad ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่องที่เป็นวินโดส์นั่นแหละครับ โดยให้นำโค้ดภาษา JavaScript ใส่ลงไปแล้วบันทึกเป็นไฟล์ *.js สำหรับโปรแกรม Note Pad เวลาบันทึกก็ให้ใส่เครื่องหมาย “***.js” ฟันหนูครอบด้วยนะครับในช่อง File name เพื่อเป็นการกำหนดให้เป็นไฟล์ **.js นั่นเองครับ เพราะค่า Defualt ของ NotePad เป็น *.txt จากนั้นเวลาเรียกใช้งานชุดคำสั่งดังกล่าวเราก็ใส่โค้ดเรียกใช้งานในภาษา HTML หรือในหน้าเว็บเพจของเราดังนี้ครับ
การผสมคีย์เวิร์ดของหน้าเว็บเพจเราก็สามารถใส่ลงไปในส่วนของชื่อไฟล์นั่นเองครับเครื่องหมายดอกจันทร์หรือชื่อไฟล์ให้เราตั้งเป็นคีย์เวิร์ด หากมีหลายคำก็ให้ใส่เครื่องหมาย - คั่นคัรบเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของคีย์เวิร์ดนั่นเองครับ สำหรับการจัดการเรื่องภาษา JavaScript ที่มีผลต่อการทำ SEO ของ Search Engine ก็มีวิธีการแก้ไขง่ายๆ เพียงเท่านี้ครับ บล็อกเกอร์และเหล่าคนทำ Google Adsense หลายๆ คนก็ใช้วิธีการนี้จัดการกับภาษา JavaScript ครับ

@การปรับแต่ง Title กับ Meta




การปรับแต่ง Title กับ Meta ของเว็บไซต์บ่อย ๆ มีผลดีหรือผลเสียในการทำ SEO Search Engine Optimization มากน้อยแค่ไหน?

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการปรับแต่ง Title กับ Meta ของเว็บไซต์ว่าควรจะปรับแต่งยังไง หรือบ่อยแค่ไหน เพื่อให้เกิดผลในการทำ SEO Search Engine Optimization มากที่สุดกันน่ะครับ เคยมีคนถามผมมาเหมือนกันครับกับคำถามแบบนี้ บางคนก็ชอบที่จะปรับปรุงในส่วนของ Title กับ Meta บ่อย ซึ่งผมมองว่าการปรับปรุง Title กับ Meta นั้นจะมีผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำน่ะครับ

ในการปรับปรุง Title กับ Meta นั้นส่วนใหญ่ผมจะไม่แนะนำให้ปรับปรุงกันบ่อย ๆ ครับ เพราะว่าการที่เราทำการปรับปรุง Title กับ Meta บ่อย ๆ นั้นอาจจะทำให้ Search Engine เกิดความสับสนเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเราก็เป็นได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น สัปดาห์นี้เราปรับปรุง Title กับ Meta เป็นอย่างหนึ่ง แล้วพออีกสัปดาห์เราก็ปรับปรุง Title กับ Meta เป็นอีกแบบหนึ่ง โดยที่ Search Engine ได้เก็บรายละเอียดของเก่าไปแล้ว แต่พอเข้ามาอีกทีกลับกลายเป็น Title กับ Meta อันใหม่ อย่างน้อยผมคิดว่าควรให้เวลากับ Search Engine บ้างน่ะครับ

ส่วนใหญ่ผมจะแนะนำให้ลูกค้า หรือคนรู้จักพยายามอย่างปรับเปลี่ยน Title กับ Meta บ่อย ๆ หรือถ้าเป็นไปได้ก็ควรปรับให้น้อยที่สุด และมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด ปกติแล้วผมจะชอบปรับเปลี่ยนในช่วงก่อนที่จะมีการอัพเดทค่า PR หรือค่า PageRank สักประมาณ 3-4 สัปดาห์ครับ ส่วนใหญ่ก็ทิ้งระยะประมาณ 4-6 เดือนครับ ถ้าภายใน 4-6 เดือนอันดับยังไม่ดีขึ้นค่อยทำการปรับเปลี่ยนอีกที แต่ในการทำ SEO มันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ Title กับ Meta อย่างเดียวเหมือนเดิมครับ ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ด้วย แต่ถ้า Title กับ Meta ดีก็มีชัยไม่มากก็น้อยแล้วครับ ลองเอาไปปรับแต่งดูน่ะครับ แต่อย่ารีบร้อนน่ะให้เวลากับ Search Engine ด้วยน่ะครับ

HMU111.COM

@การทำ SEO เหมาะกับใคร ไม่เหมาะกับใคร



วันนี้ผมจะมาพูดถึงความเหมาะสมของการทำ SEO ว่าเหมาะกับใคร และไม่เหมาะกับใครน่ะครับ

ในการทำ SEO นั้นหลาย ๆ คนคงรู้อยู่แล้วว่ามีความไม่แน่นอนของอันดับอยู่ตลอดเวลา (หรือว่ายังไม่รู้กัน) เพราะฉนั้น เรื่องของการทำ SEO จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ความสม่ำเสมอ ต้องใช้ระยะเวลา (พูดเวอร์ไปเปล่าเนี่ย) ดังนั้น

การทำ SEO จึงเหมาะกับคนที่มีความละเอียดอ่อน ไม่ใจร้อนจนเกินไป คงเส้นคงวา สม่ำเสมอ (ความสม่ำเสมอถือว่าสำคัญพอสมควร เอาไว้ค่อยมาว่ากันต่อไป) เพราะถ้าคุณใจร้อนมาก แทนที่จะเป็นผลดี กลับกลายเป็นผลเสีย อย่างที่ผมเคยเจอก็มีทั้งโดนแบนคีเวิร์ด โดนแบนเว็บไซต์ก็ยังมี ทั้งสองกรณีนี้เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังทีหลังน่ะครับ

คนที่ รับทำ SEO ส่วนใหญ่จะต้องคำนึงถึงหลาย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากมีข้อผิดพลาดขึ้นมา ดัง 2 กรณีที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ถ้าเป็นเว็บของตัวเองก็ไม่เป็นไร เพราะเราก็สามารถจดขึ้นมาใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นของลูกค้าละ อันนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที คนที่จะจ้างคนรับทำ SEO ก็คงต้องคิดหนักเหมือนกันน่ะครับ

สำหรับคนที่ใจร้อนต้องการเห็นผลรวดเร็วทันใจภายใน 15 นาที (อันนี้เป็นสโลแกนเลยน่ะ) ผมขอแนะนำให้ไปทำ Adwords ดีกว่าครับ เห็นผลรวดเร็วทันใจ ควบคุมตำแหน่งได้ อยากให้อยู่อันดับไหน ตำแหน่งไหน หน้าไหน แต่คุณก็ต้องมีงบประมาณพอสมควร เพื่อที่จะไปแข่งขันกับคู่ต่อสู้ของคุณ นั้นก็คือการบิดราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งอันดับ ที่เราต้องการ อันนี้ก็จะขึ้นอยู่กับมูลค่าทางการตลาดด้วยน่ะครับ ว่ามีการแข่งขันกันสูงหรือเปล่า ถ้ามีการแข่งขันกันสูงราคาบิดก็จะสูงตามไปด้วย

เป็นยังไงบ้างครับ พอจะเริ่มเข้าใจในเรื่องของความเหมาะสมบ้างหรือยัง แต่ผมก็มีข้อคิดมาให้คิดกันน่ะครับ นั้นก็คือ

อย่าพึ่งเชื่อผม ถ้าคุณยังไม่ได้ลองทำดู

เห็นผลเป็นอย่างไรแล้วอย่าลืมมาบอกเล่าเก้าสิบให้ฟังบ้างน่ะครับ


HMU111.COM

@Google Sandbox สนามเด็กเล่นของ Website เกิดใหม่



สำหรับคนที่จะทำ SEO (Search Engine Optimization) กับ Google จะต้องทำความรู้จักกับ Google Sandbox เสียก่อน ว่ามันคืออะไร เพราะว่าเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ทุกเว็บจะต้องเข้าไปอยู่ในกล่องทรายแห่งนี้ เพื่อรอวันที่จะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในวันหน้า

Google Sandbox คือระบบกรองเว็บไซต์ที่ทาง Google ได้จัดทำขึ้นเพื่อทำการคัดกรองเว็บไซต์ด้วยคุณภาพที่เกิดขึ้นจำนวนมากในเวลาอันสั้น ซึ่งปัญหาหลักที่เขาได้ตระหนักถึงคือ มีเว็บจำนวนหนึ่งเป็นเว็บด้อยคุณภาพ หรืออาจจะไร้คุณภาพเลย เว็บจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Spam หากทาง Google ปล่อยให้เว็บเหล่านี้อยู่ในฐานข้อมูลของเขา ก็เหมือนกับเก็บขยะเอาไว้ในบ้าน


ทาง Google Web Spam Team จึงได้จัดทำระบบที่มีชื่อว่า Google Sandbox Filter ซึ่งจะทำหน้าที่คัดกรองเว็บไซต์ดังกล่าวออกให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มต้นเว็บที่พึ่งจัดทำใหม่ทุกเว็บ เข้าไปอยู่ในกล่องทรายแห่งนี้ โดยจะทำการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดว่าเว็บเหล่านั้น เข้าข่ายเว็บมีปัญหาหรือไม่

ผลที่เกิดขึ้นสำหรับเว็บที่อยู่ใน Sandbox คือ อันดับของเว็บไซต์จากหน้าผลการค้นหาของ Google จะยังไม่ดีนัก จำนวนหน้าของการ Index จะยังมีไม่มาก และจะถูกเก็บลงฐานข้อมูลของ Google เพียงบางส่วน รวมถึงจำนวนลิงค์ที่เราควรจะได้รับจากเว็บที่ทำลิงค์เข้าหาเราจะยังไม่ครบถ้วน หรืออาจจะไม่พบเลย ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่คนทำเว็บไซต์อย่างเราๆ ไม่ชอบแน่นอน

คำสั่ง Google ที่ใช้ตรวจสอบการหน้าเว็บที่ถูกเก็บลงฐานข้อมูลของ Google (Index Page)
site:ชื่อเว็บไซต์.com

คำสั่ง Google ที่ใช้ตรวจสอบจำนวนลิงค์ (Link Popularity)
link:ชื่อเว็บไซต์.com


นานแค่ไหนกว่าเว็บเราจะหลุดจาก Google Sandbox ?

คำตอบคือ ไม่แน่นอนครับ เว็บไซต์ที่เกิดใหม่บางเว็บอาจจะใช้เวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ในการหลุดจากกล่องทราย แต่บางเว็บอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการทำให้เว็บหลุดออกมาได้

คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไรให้หลุดจาก Google Sandbox

เป็นที่ทราบกันดีว่า Google นั้นต้องการจะกำจัดเว็บที่เข้าข่าย Spam ซึ่งเว็บเหล่านี้อาสัยหลักการของการทำ SEO กับ Google ในเรื่องของการใช้เว็บที่มี PR (Google PageRank) สูงจำนวนมากในการดึงอันดับให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ Google มองแล้วว่าการ Spam อย่างหนึ่ง เพราะจำนวนลิงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ได้เกิดจากลิงค์ตามธรรมชาติ ที่เว็บไซต์แต่ละเว็บจะทำลิงค์ถึงกัน

ดังนั้นหากเราต้องการทำเว็บให้หลุดจาก Google Sandbox ให้เร็วที่สุดคือ การทำเว็บให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด อย่าปรุงแต่งจนมากเกินไป ลิงค์ที่เราใส่เข้าหาเว็บไซต์ ก็ควรจะเป็นลิงค์เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง จำนวนอาจจะไม่ต้องมากนัก แต่ขอให้คุณภาพสูง ซึ่งในที่นี้ PR ก็เป็นตัวชี้คุณภาพได้ตัวหนึ่ง

แต่อย่าพึ่งดีใจไปเมื่อเว็บเราหลุดออกจาก Google Sandbox ได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เว็บเรานั้นมีเรื่องผิดปรกติเกิดขึ้น Google อาจจะจับเราเข้าไปอยู่ในกล่องทรายนั้นอีกรอบ แล้วทีนี้การจะกลับออกมาอีกครั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนแต่ก่อน ฉะนั้นผมขอแนะนำให้ทำเว็บไซต์อย่างขาวสะอาด สร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม ผมมั่นใจได้เลยว่าทาง Google จะไม่มีทางดันเว็บที่มีคุณภาพลงไปอยู่ในหลุ่ม หรือกล่องทรายอย่างแน่นอน

@KEYWORD กุญแจสำคัญในการทำ SEO

สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง SEO อาจจะสงสัยในหลายๆ เรื่อง ซึ่งหนึ่งในเรื่องทีผมได้รับคำถามมาบ่อยที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องของการเลือก Keyword สำหรับทำ SEO ว่าเราควรจะเลือก Keyword ลักษณะไหน ถึงจะสามารถทำ SEO ได้เห็นผล วันนี้ผมมีคำตอบมาให้ครับ

รู้ตัวหรือยังว่าเราจะทำ SEO ไปเพื่ออะไร?

ก่อนจะเริ่มทำเราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่า ที่เราจะลงทุน ลงแรงไปนั้น จุดประสงค์หลักของเราคืออะไร คำว่าผู้เยี่ยมชมเว็บ (Vistors) นั้นมันดูจะกว้างเกินไปสำหรับเรา หากกำลังจะทำเว็บขายของ แน่นอนว่าเราจะต้องการผู้เยี่ยมชมที่มีความต้องการจะซื้อ ไม่ใช่ผู้เยี่ยมชมต้องการจะขาย


ค้นหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายนั้นนิยมใช้ในการค้นหา

ขั้นต่อมาก็คือ การค้นหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการใช้ค้นหาเป็นประจำ ซึ่งคำเหล่านั้นมักจะเป็นคำที่เราคุ้นหู คุ้นปากกันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นคำที่คนใช้เฉพาะบนอินเทอร์เน็ตก็เป็นได้

คัดกรอง Keyword ให้เหลือคำที่เหมาะกับการทำ SEO

จากประสบการณ์โดยตรง โดยมาก Keyword หรือคำค้นที่เราได้มานั้นจะมีจำนวนมากมายมหาศาล ยิ่งหากใครใช้เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา Keyword อาจจะได้ Keyword มาเป็นหลักพัน หลักหมื่น ซึ่งอาจจะมากเกินไป ดังนั้นเราควรจะคัดกรอง Keyword ที่ไม่จำเป็น หรือว่าไม่คุ้มแก่การลงทุนออกไปให้มากที่สุด โดยยึดความเหมาะสมกับแรงเงิน และแรงงานที่เรามีพอจะลงทุน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Keyword ที่จัดอยู่ในกลุ่มไม่จำเป็น หรือว่าไม่คุ้มแก่การลงทุนจะอยู่ในกลุ่มต่อไปนี้

1. Keyword ที่มีคู่แข่งจำนวนมาก
2. Keyword ที่มีความกำกวม หรืออาจจะได้ผู้เยี่ยมชมที่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายนัก
3. Keyword ที่หน้าผลการค้นหาเต็มไปด้วยคู่แข่งที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเรามากนัก

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ชุด Keyword ที่เหมาะสมกับการทำ SEO แล้วหละครับ ผมเชื่อว่าก้าวแรกถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดในการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ยังโชคดีที่ท่านได้มาอ่านบทความนี้ก่อนที่จะลงทุนทำ SEO แบบมือคลำ เพราะสิ่งเหล่านี้คือความจริงที่ผมกล้าฟันธง

@แนะนำวิธีการทำ SEO แบบง่าย ๆ

หลังจากที่ผมแข่ง รับทำ SEO กับเพื่อน แล้ว keywords รับทำ SEO
ติด อันดับ 1 Google ก็มีคนสนใจ สอบถามกันเข้ามา ว่าทำอย่างไร
หลาย ๆ ท่านก็มาขอราคา ว่าคิดเท่าไรยังไง จะมาจ้างทำ ..

วันนี้นั่งเล่น ๆ ก็เลยมาเล่าเคล็ดลับและวิธีการทำ SEO แบบง่าย ๆ
ใช้สำหรับโปรโมทเว็บ ที่ได้ผล แน่นอน 100%

1.อยากได้ keywords อะไร ก็จะต้องมี keywords นั้นอยู่ในเว็บท่าน
ยิ่งอยู่ในส่วนที่สำคัญ ๆ ยิ่งดี ไม่ก็เน้นให้มันสำคัญ เช่นใส่ตัวหนา (strong)

2.TAG HTML ที่ใช้เขียนต้องถูกต้อง ให้ bot เข้าใจได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็น
CSS+xHTML ได้ยิ่งดีมาก ๆ เพราะมันเป็นมาตรฐาน ที่ bot สามารถ
เก็บไปประมวลผลได้ดียิ่งขึ้น กว่า HTML ธรรมดา ถ้าสังเกต จะเห็นว่า
พวก blog ที่ใช้ WordPress จะติด index เร็วกว่า และติดในอันดับที่ดีกว่า
เพราะว่า code ที่ใช้เขียน เป็น CSS+xHTML ที่ถูกต้อง bot ชอบ ..

3.ใส่ TAG ที่จำเป็น สำหรับอธิบายเว็บของท่าน โดยเอา keywords ที่
ต้องการไปใส่ไว้ด้วย จะมี 3 ส่วนด้วยกันที่สำคัญคือ
title ให้ใส่ keywords ที่ต้องการไปด้วยในส่วนนี้
จะช่วยเพิ่มน้ำหนักของ keywords ได้มากทีเดียว
keywords content
ตรงนี้ใส่ keywords ที่ต้องการลงไป คั่นด้วย (,) ใส่เท่าที่จำเป็น เท่านั้นนะครับ
description contentใส่คำอธิบายลงไป ว่า page นั้น เป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

4.หา backlink โดยทำ link ด้วย keywords ที่เราต้องการ กลับมาที่
หน้าเว็บที่เราต้องการให้ keywords นั้นติดอันดับต้น ๆ เมื่อ search
ตรงนี้จะเป็นการบ่งบอกว่า เว็บเรา มี content ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ..

5.ทำการ monitor ด้วย Google Webmasters Tools เพื่อวิเคราะห์
รายละเอียดต่าง ๆ ว่าควรปรับปรุงอะไรตรงไหนเพิ่ม ..

เห็นไหมครับ ว่าวิธีการโปรโมทเว็บ ด้วยการใช้ SEO ช่วย เป็นอะไร
ที่ทำได้ไม่ยาก ท่านก็สามารถทำเองกันได้ ไม่รู้ว่าผมเอาเคล็ดลับ
ในการทำ SEO มาเผยแพร่ แบบนี้ พวกบริษัท รับทำ SEO เค้าจะเคือง
กันหรือเปล่า เดี๋ยวเพื่อน ๆ ที่เข้ามาอ่าน blog ผม ไปทำเองกันหมด
ไม่มีคนไปจ้าง อิอิ .. ที่ผมเอามาบอกก็เพื่อที่จะให้ เพื่อน ๆ ได้ตระหนัก
ถึงการเขียน TAG HTML ที่ถูกต้อง ตามหลักของ W3C จะช่วยได้มาก
ในเรื่องของการทำ SEO ให้ได้ผล เพราะ bot อ่านเข้าใจ เก็บข้อมูลได้
มีความถูกต้องสูง ..

แต่ถ้าใคร อ่า่นแล้ว คิดว่ายากไป ไม่ทำเอง ก็มาจ้างผมก็ได้ครับ
อ่านรายละเอียดได้ที่หน้า รับทำ SEO

สอบถามเรื่องการ รับทำ SEO เพิ่มเติม 0816720987 (สมหมาย)

@เราควรใส่ keyword ในเว็บเพจตรงใหนดี ?

เราควรใส่ keyword ในเว็บเพจตรงใหนดี ?
1.ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหน้าเพจ (Title) ให้เราใส่ Keyword ที่เราต้องการจะใส่โดยให้น้ำหนักจากการเรียงจาก ซ้ายไปขวา อันนี้สำคัญที่สุด ห้ามขาดหรือลืมใส่เด็ดขาด เพราะจะทำให้ Search Engine ไม่ทราบว่าเนื่อหาของเราเกี่ยวกับอะไร โดย search engine จะ Title เป็นข้อหัวหลัก แล้วเอาเนื้อหามาเป็นตัวเพิ่มคะแนนของเว็บเพจนั้นๆ
2.ใช้ keyword ที่บริเวณชื่อหัวข้อของเนื้อหา (Heading tag) โดยการใช้ H1,H2,H3 เป็นต้น แต่ไม่ควรใส่ keyword ในทุกๆ H ใส่แค่ H1 หรือ H2 ก็พอ
3.ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนแรก (First Content) ให้ใส่ Keyword ไว้ในตำแหน่ง 20 คำแรกโดยประมาณ ให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้ตัวอักษรลักษณะเอียงก็ได้
4.ใช้ keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link) คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วย
5.ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายของหน้า (The last content) เพื่อเน้นย้ำหรือใช้ในการสรุปเนื้อหา อาจจะใช้เป็นลักษณะตัวเอียงหรือหนา (แนะนำให้ใช้ tag คีย์เวิร์ด แทน คีย์เวิร์ด เพราะ Search Engine ชอบ HTML แบบเก่ามากกว่าแบบใหม่) ก็ ได้ครับ
6.ใช้ keyword ที่บริเวณ เมนูเลื่อนลง (Drop Down Menu) Drop down menu นี้เป็นที่ซ่อน Keyword ที่ดีอีกที่ที่ไม่ควรมองข้าม
7.ใช้ keyword ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ (Folder name, File name) วิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรครับกับการทดลองใช้ในหลายๆ เว็บที่ผมลอง หากต้องใช้ Keyword มากกว่า 1พยางค์ ควรใช้เครื่องหมาย ?-? เป็นตัวคั่นกลาง
8.ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบายรูปภาพ (Images alt tag) การใช้ tag alt เข้าช่วยนั้นเพราะว่า Search Engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพเราสามารถบอก Search Engine ให้รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพของอะไรได้โดยใช้ tag alt=?keyword? นี้เข้าช่วย
9.ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบาย ลิงค์ (Text link title) การใช้ text link title นั้นคลายการใช้ tag alt เพียงแต่ tag นี้ใช้อธิบาย link
10.ใช้ keyword จด Domain name ด้วย Keyword (Domain name register) การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ
11.ในส่วนของเนื้อหา ให้เน้น keyword ด้วย tag คีย์เวิร์ด ซัก 2-3 แห่ง แต่ต้องระวังไม่ใส่มากเกินไป
12.ในช่วย ย่อหน้าแรกๆ ควนใส่คีย์เวิร์ด ใน tag < p> ประมาณ 2 ครั้ง จะเป็นการดี

@เทคนิคการทำ SEO ให้ติดอันดับ

SEO หรือ Search Engine Optimization ก็คือ วิธีการทำเว็บไซต์ของตนเองให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine ต่าง ๆ เนื่องจากว่ามีเจ้าของเว็บไซต์หลายๆคน ได้มาถามผมว่า Google Adwords นี้สามารถนำมาใช้ในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ได้หรือไม่ SEO แรก ๆ ผมก็ตอบพร้อมกับอธิบายอย่างยาวเลยครับ แต่หลังๆ ก็เริ่มซึมๆ ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะว่ามีคนถามเข้ามามาก และผมต้องตอบซ้ำแล้วซ้ำอีก จนรู้สึกว่าเหนื่อยใจเหลือเกิน

เผยเทคนิคในการจัดทำ SEO โดยใช้ Google Adwords
คำตอบของผมก็คือว่า เราสามารถนำ Google Adwords มาประยุกต์ใช้ในการทำ SEO ได้ และได้อย่างดีทีเดียวครับ ดังที่เพื่อนๆคงจะได้ทราบวิธีการทำงานของ Google Adwords กันไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า โฆษณาบน Google Adwords นั้น เป็นโฆษณาที่มีผลกับจิตใจของผู้เห็นโฆษณาภายในเสี้ยววินาทีเท่านั้น เท่ากับว่า ผลลัพธ์ SEO ที่ได้จากการโฆษณาบน Google Adwords นั้น เป็นผลลัพธ์ SEO ที่ดีเยี่ยมยิ่งกว่าโพลใด ๆ ครับ เช่น ถ้าเรา ทำโฆษณาขึ้นมา 2 ชิ้น แล้วทำการโฆษณาแข่งกันบน Google หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์

สามารถที่จะสรุปเบื้องต้นได้แล้วว่า SEO ข้อความโฆษณาทางด้านซ้ายมือนั้น มีผลในการเรียกความสนใจของผู้ที่อ่านได้มากกว่า (ใน Keywords นั้นๆ) รวมทั้งการใช้ Google Adwords นั้น เราสามารถทำการทดสอบและปรับเปลี่ยนข้อความโฆษณาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถหา Keywords และข้อความโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงได้โดยเร็ว

ดังนั้นถ้าหากเราจะใช้ประโยชน์จาก Google Adwords เพื่อเทคนิคการทำ SEO ของเว็บไซต์นั้น ผมแนะนำให้ทำดังนี้

• ลองทำการโฆษณาเว็บไซต์ของตนเองด้วย Google Adwords ก่อน เพื่อหา Keywords ข้อความโฆษณา และ landing page ที่มีประสิทธิภาพในการโฆษณาเว็บไซต์ของเราก่อน

• เมื่อเรามี Keyword และข้อความโฆษณาที่สามารถทำกำไรให้กับเราได้แล้ว ก็ลองนำ Keyword, ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้นไปโฆษณาบน PPC อื่นๆ เช่น Overture.com, Findwhat.com แล้วดูว่ายังสามารถทำกำไรให้เราได้หรือไม่

• ถ้าหากเราสามารถทำกำไรได้จาก Keyword , ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้น เราก็ค่อยทำ SEO เว็บไซต์ของเรา โดยการใช้ Keyword , ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้น โดยเราควรจะเลือกทำ SEO กับ Keyword ที่ทำกำไรให้กับเรามากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก

ดังนั้นจะเห็นว่า Google Adwords นั้นจะช่วยให้ประโยชน์ในการทำ SEO โดยจะทำให้เราสามารถค้นหา Keywords, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้โดง่ายและรวดเร็วมากกว่าแต่ก่อนครับ / บทความวิธีหาเงินจาก google adsense

นอกจากนั้นการทำ SEO ด้วยวิธีนี้ ยังจะทำให้เราสามารถทำกำไรกลับมาได้สูง เพราะว่า เราเน้นการทำ SEO ในชุด Keyword, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่สามารถทำกำไรกลับมาให้เราได้สูงอยู่แล้ว (เรารู้ตั้งแต่ก่อนทำ SEO แล้ว ด้วยการทดลองบน Google Adwords ถูกไหมครับ)

โดยสรุปแล้ว Google Adwords นั้นสามารถนำมาเป็นสื่อในการทดสอบการทำ SEO ได้นั่นเอง เพราะทำได้ง่ายดายกว่ามาก จนกระทั่งเมื่อไหร่ที่เรามี Keywords, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่คิดว่าดีและทำกำไรได้แล้ว จึงค่อยนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้ในการทำ SEO แบบทั่วไปครับ

ทิปโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ www.googlerich.net

@ขั้นตอนการทำ SEO

ขั้นตอนการทำ SEO (Search Engine Optimization)
1. วิเคราะห์การแข่งขัน โดยดูจาก การค้นหา คีย์เวิร์ดของเราเทียบกะคู่แข่ง
2. เลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม
3. ปรับแต่งเนื้อหาภายในเว็บ
4. เขียนเนื้อหาให้ตรงกับ อัลกอริทึ่ม ของแต่ละ search engine
5. การออกแบบเว็บให้ search engine เข้าถึงได้สะดวก
6. การลงทะเบียนกับ search engine ต่างๆ
7. การสร้างลิงค์ให้กับเว็บไซต์ ในเว็บเรา และเว็บอื่นๆ
8. ติดตามประมวลผล การเลื่อนลำดับ เวลาค้นจาก Search Engine แต่ละที่


How to makes traffic for your site
1. Submit to the directories and receive quality incoming links
2. Link exchanges (PR4 up, เนื้อหาใกล้เคียงของเรา)
3. Keep adding quality content (เนื้อหามีคุณภาพ, no broken link, insert keyword all pages)
4. High demand, low supply keywords (เช็คคีย์เวิร์ดที่นิยม, หาคำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บเรา http://www.th-store.com/modules/seo-tools/Keyword-Playground.php)
5. Help and be helped with forum chat
6. Spending a little more money on PPC advertising
7. Article submission , News Group
8. Build relationships with newsletters
เครื่องมือที่นัก SEO และ SEM เขามีไว้ทำการปรับปรุง พัฒนาเว็บกันครับ
1. http://www.marketleap.com/publinkpop
(เป็นเว็บที่ใช้ในการตรวจสอบ ปริมาณลิงค์จากเว็บอื่นๆ ว่าเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือต่างกัน เช็คดูค่า Link Populariry ของคู่แข่งด้วย ลองใช้ดูครับ)

2. โปรแกรมแนะนำคีย์เวิร์ด (แนะนำที่ใช้ฟรีละกัน)
http://inventory.overture.com/d/searchinventory/suggestion
http://www.google.com/webhp?complete=1&hl=en
http://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal
http://www.digitalpoint.com/tools/suggestion
http://www.goodkeywords.com/
http://truehits.net/index_keyword.php
3. เพิ่มลิงค์ในหน้า Search Engine ต่างๆ
http://www.google.com/addurl/?continue=/addurl
http://submit.search.yahoo.com/free/request
http://www.globlet.com/urllist.txt
http://searchmarketing.yahoo.com/srchsb/index.php
http://search.msn.com/docs/submit.aspx
http://dir.yahoo.com/Regional/Contries/Thailand
https://siteexplorer.search.yahoo.com/(yahoo sitemap)
http://dmoz.org/ (pr8)
http://webdirectory.appjob.com/ (pr4)
http://search.sanook.com/ (pr5)
http://www.doctorsan.com/superdirectory/ (pr2)
http://www.pixiart.com/links/ (pr4)
http://www.thaicool.com/weblink/index.asp (pr2)
4. เว็บไซต์ที่รับแลกลิงค์แบนเนอร์
http://www.getamped.in.th/link.php
http://www.alice.in.th/SLIF/welcome/index.php
http://www.waknowledge.com/home.php
http://www.j-doramanga.com/
http://www.jkdramas.com/links/index.htm
http://www.inthailandbiz.com/
http://www.freedeedee.com/link.htm
http://www.eieiclub.com/
http://www.sodazaa.com/friend.php
http://www.deedeejang.com/
http://www.sodazaa.com/friend.php
5. เว็บบริการจัดอันดับ Top 100
http://www.sodazaa.com/topsite/join.php
http://www.mthai.com/hotwebsite
http://top100.teenee.com/
เว็บไซต์ช่วยในการทำ SEO

1. http://www.marketleap.com/publinkpop
2. http://www.google.com/webhp?complete=1&hl=en
3. http://adwords.google.com/select/Keyword
4. http://www.wordtracker.com/
5. http://www.keyworddiscovery.com/
6. http://truehits.net/index_keyword.php
7. http://www.checkyourlinkpopularity.com/
เว็บไซต์ช่วยเช็คอันดับของคีย์เวิร์ด

1. http://www.webposition.com/
2. http://www.webceo.com/
3. http://www.axandra.com/
4. http://www.google.com/apis
5. http://www.digitalpoint.com/tools/keywords
6. http://www.yahoosearchtracking.com/
7. http://www.prsearch.net/msnmass.php
8. http://www.seo-guy.com/seo-tools/se-pos.php
เว็บไซต์รายงานการแสปม

1. http://www.google.com/contact/spamreport.html
2. http://add.yahoo.com/fast/help/us/ysearch/cgi_reportsearchspam
3. http://feedback.searc.msn.com/eform.aspx?productkey=searchweb&page=search_feedback_form
คำแนะนำสำหรับเว็บมาสเตอร์

1. http://www.google.com/webmasters/guidelines.html
2. http://www.google.com/webmasters/seo.html
3. http://help.yahoo.com/help/us/ysearch/basics/basics-18.html
4. http://searchenginewatch.com/
5. http://www.seobook.com/
6. http://www.searchenginelowdown.com/
7. http://www.seroundtable.com/
8. http://www.webmasterworld.com/
9. http://forums.seochat.com/
10.http://livepr.raketforskning.com/
11.http://www.marketleap.com/siteindex/default.htm
12.http://www.prsearch.net/index.php
13.http://123promotion.co.uk/tools/robotstxtgenerator.php
14.http://www.sxw.org.uk/computing/robots/check.html
15.http://www.copyscape.com/ (ดูว่าเว็บไหนลอกเนื้อหาเว็บเรา)
16.http://www.searchwho.com/sw5-spider.html

@ทำไมต้องทำ SEO ?

ในบทความนี้จะพูดถึงความสำคัญของการทำ SEO ว่าทำไมเราจึงต้องทำ SEO และ SEO มีประโยชน์อะไรบ้าง

ถ้าหากคุณเปิดบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง แต่ไม่มีใครรู้จักบริษัทของคุณเลย ไม่มีลูกค้า ไม่มียอดขาย แน่นอนว่าบริษัทที่เปิดขึ้นมา ไม่นานก็ต้องปิดกิจการลง เช่นเดียวกับเว็บไซต์
คงไม่มีประโยชน์อะไรถ้าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น ไม่เป็นที่รู้จักและไม่มีคนเข้าชม โดยเฉพาะเว็บไซต์ประเภท e-commerce ที่เน้นงานด้านการขายเป็นหลัก

ดังนั้น เมื่อพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว ต้องประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักด้วย ซึ่งการประชาสัมพันธ์ที่ใช้การลงทุนน้อย ได้ผลเร็ว คือการทำ SEO เพราะผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงค้นหาสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาสนใจจาก Search Engines

Search Engine Optimization ช่วยให้คุณ
1. เพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์
2. ทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเป็นที่รู้จัก
3. เพิ่มโอกาสทางการค้า
4. เพิ่มผลกำไรทางธุรกิจ
5. ลดความเสี่ยง ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ


ศัพท์น่ารู้

•e-commerce = เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อขายสินค้า หรือบริการ

@Search Engine (เสิร์ชเอ็นจิ้น)

Search Engine คือ เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยคำค้นต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย

ไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้

•http://www.google.com
•http://www.live.com
•http://www.yahoo.com
•http://www.baidu.com
•http://www.ask.com

กระบวนการทำงานของ Search Engine
โดยปกติแล้ว Search Engine จะมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Robot (หุ่นยนต์) ในการสืบค้นเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยการทำ Index โดย Robot จะเดินทางจากเว็บหนึ่ง ไปอีกเว็บหนึ่งผ่าน Hyperlink ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ


การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหา
Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำค้นที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น

ศัพท์น่ารู้

•Robot = หุ่นยนต์ ในที่นี้หมายถึงหุ่นยนต์ที่เป็นเครื่องมือของ Search Engine ใช้ติดตามข้อมูลต่าง ๆ สำหรับจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล
•Index = การรวบรวมข้อมูล และจัดเก็บสำหรับการสืบค้น
•Hyperlink = การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ เส้นทางการเดินทางของข้อมูลจาหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง

@Web Directory (เว็บไดเรคทอรี่)

Web Directory (เว็บไดเรคทอรี่) หรือ Directories บางทีเรียกว่า Link Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เว็บไดเรคทอรี่บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engine ในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
- http://www.dmoz.org/
- http://www.directory-index.net/


การเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่เว็บไดเรคทอรี่ (Add URL)

ในอดีตการเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่เว็บไดเรคทอรี่ สามารถทำได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันการที่มี Link อยู่ในเว็บไดเรคทอรี่ดี ๆ หลายที่ถือว่าเป็นผลดีกับการทำ SEO จึงทำให้การเพิ่มชื่อ

เว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของ Web Directory ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.Free Submission คือ Web Directory ที่ยอมให้เพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรี!)
2.Reciprocal Link คือ Web Directory ที่ต้องทำ Link กลับมาก่อนจึงจะสามารถเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้
3.Paid Submissions คือ Web Directory ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ฐานข้อมูลเว็บไดเรคทอรี่
แม้ว่าปัจจุบันเว็บไซต์ไดเรคทอรี่ ถูกลดบทบาทและความสำคัญจาก Search Engine อันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกันจากการ ซื้อ - ขาย Links แต่ Backlinks ก็ยังเป็นหัวใจสำคัญในการทำ SEO อยู่ดี

ศัพท์น่ารู้

•Backlinks คือ Links ที่เชื่อมโยงเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา บางครั้งเรียกว่า Incoming Links หรือ Link Popularity
•ODP ย่อมาจาก The Open Directory Project คือ Web Directory ที่พัฒนาขึ้นโดย Netscape โดยมากรู้จักกันในชื่อ DMOZ (Directory.MOZilla.org)

@การแบ่งประเภทของการทำ SEO

การทำ SEO ถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

White Hat SEO (SEO หมวกสีขาว)

การทำ SEO ประเภท White Hat คือ การทำเว็บคุณภาพ และทำ SEO โดยยึดแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ Search Engine หลาย ๆ ค่ายแนะนำไว้ ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำ Hidden text หรือ Hidden Links
- หลีกเลี่ยงการทำ Doorway
- ไม่ทำ Spam Keyword
- ไม่ทำ Duplicate Content
- ไม่ทำ Cloaking หรือ Sneaky Redirects

Black Hat SEO (SEO หมวกสีดำ)

การทำ SEO ประเภท Black Hat คือ การทำ SEO โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ทาง SEO โดยไม่สนใจถึงความเหมาะสม ตามลักษณะที่ตรงข้ามกับการทำ White Hat SEO ทุกประการ (ไม่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง)

นอกจากหมวกขาวและหมวกดำแล้ว ในปัจจุบันยังมีการแบ่งประเภทแบบไม่เป็นทางการอีก 1 ประเภท คือ Gray Hat SEO (SEO หมวกสีเทา) ที่ทำ SEO แบบกึ่งหมวกขาวและหมวกดำ
ตัวอย่างเช่น การทำ Spam Keyword โดยการแต่งประโยคที่มี Keyword อยู่ในประโยคมาก ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำ Black Hat SEO จะได้ผลเร็ว แต่ก็มักจะได้ผลแค่ระยะสั้น ๆ จึงขอสนับสนุนให้นัก SEO ทุกท่านทำเว็บด้วย White Hat SEO เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวครับ

ศัพท์น่ารู้

•Hidden Text คือ การซ่อนข้อความ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การทำสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน
•Hidden Links คือ การซ่อนลิงค์ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การใช้ style=”display:none” ครอบแท็กของ Hyperlinks
•Spam Keyword คือ การทำหน้าเว็บที่มีแต่ Keyword มากมาย
•Duplicate Content คือ การคัดลอกหน้าเว็บให้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มจำนวนหน้าของเว็บแบบไม่มีคุณภาพ
•Doorway คือ การส่ง Robot ของ Search Engine ไปในหน้าที่มีแต่ Keyword ก่อนแสดงผลหน้าเว็บที่มีเนื้อหา
•Cloaking คือ การทำหน้าเว็บที่แสดงผลแตกต่างกัน เมื่อถูกเรียกโดย Robot ของ Search Engine และผู้เข้าชมเว็บทั่ว ๆ ไป (แสดงผลให้คนอย่างหนึ่ง ให้บอทอย่างหนึ่ง)
•Sneaky Redirects คือ การเปลี่ยนการแสดงผลจากหน้าหนึ่ง ไปอีกหน้าหนึ่งอย่างรวดเร็ว

@การออกแบบเว็บไซต์ สำหรับ SEO

ก่อนจะลงมือทำ SEO ด้วยเทคนิควิธีอื่น ๆ สิ่งแรกที่ไม่ควรมองข้าม คือ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ภายในเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นก่อน ในบทความนี้เราจะเรียนรู้บางสิ่งที่เคยมองข้าม แต่สำคัญกับการทำ SEO ครับ

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี (Design and Content Guidelines) ควรมีลักษณะดังนี้

1.ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มี Navigation สำหรับเชื่อมโยงทั่วถึงกันแต่ละหน้า เพื่อให้ Robot ของ Search Engine สามารถ Crawl ได้อย่างทั่วถึง
2.ควรจัดทำ Sitemap ของเว็บไซต์
3.ควรใช้ Header Tags สำหรับหัวข้อที่สำคัญ
4.ควรจัดทำเนื้อหาที่ชัดเจน มีการเน้นจุดต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ด้วยการใช้ตัวอักษรตัวหนา (Bold) ตัวเอียง (Italic) หรือขีดเส้นใต้ (Underline) ตามความเหมาะสม
5.ควรใช้ Title Tags สำหรับ Hyperlinks และ Alt Tags สำหรับรูปภาพ
6.ควรควบคุมปริมาณการเชื่อมโยง (Hyperlinks) ไม่ควรเกิน 100 Links ต่อหนึ่งหน้า
7.ควรควบคุมขนาดการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ (ทั้ง Text และ Images และ Multimedia ทั้งหมด) ให้มีขนาดที่เหมาะสม
ศัพท์น่ารู้

•Navigation คือ หัวข้อ หรือ เมนู หรือ รายการต่าง ๆ ที่เป็นหน้าหลัก ๆ ของเว็บไซต์
•Crawl คือ การเดินทางของ Robot ซึ่งจะเดินทางไปตามการเชื่อมโยงต่าง ๆ
•Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ (คล้าย ๆ กับการทำ สารบัญ)
•Header Tags คือ Tags ที่ใช้กำหนดหัวเรื่อง หรือหัวข้อ เช่น


•Alt Tags หรือ Alternative Tags คือ Tags ที่ใช้แสดงข้อความเมื่อไม่สามารถแสดงรูปภาพได้ เป็น Attribute ภายใต้ Tags

@การตั้งชื่อโดเมน สำหรับ SEO

เว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมนตรงกับคำค้น มักจะแสดงผลลัพธ์จากการค้นหาโดย Search Engine ในตำแหน่งที่ดี ตรงกับคำพูดที่ว่า “แค่ชื่อดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

ชื่อโดเมน หรือ โดเมน คือ ชื่อที่ใช้เรียกแทนตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แทนการใช้หมายเลข IP Address ถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้ว IP Address คือ บ้านเลขที่ แต่ชื่อโดเมน คือ ชื่อบ้าน หรือ ชื่ออาคาร และแน่นอนว่าถ้ากล่าวถึงชื่อโดเมนแล้ว สิ่งที่คู่กัน คือ นามสกุลโดเมนต้องถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน นามสกุลของโดเมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

•gTLD (Generic Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนทั่ว ๆ ไป เช่น .com .net .org .biz .info
•ccTLD (Country Code Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนของประเทศ หรือ ภูมิภาค เช่น .in.th .co.uk
ความเชื่อเกี่ยวกับ ชื่อโดเมน และ การทำ SEO

1.ชื่อโดเมนทีเ่ป็น ccTLD จะส่งผลดีด้าน SEO กับคำค้นที่เป็นภาษาของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ
2.ชื่อโดเมนที่เป็น gTLD จะส่งผลดีด้าน SEO กับการค้นหาโดย Search Engine ทั่วโลก
3.โดเมนที่ใคร ๆ ต้องการ และได้รับความนิยมสูง คือ .com รองมาคือ .net และ .org ตามลำดับ
4.โดเมนที่จดทะเบียนมาแล้วหลาย ๆ ปี จะมีผลดีด้าน SEO มากกว่าโดเมนที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่
5.การตั้งชื่อโดเมนให้ตรงกับคำค้น จะทำให้ผลลัพธ์จากการค้นหาโดย Search Engine อยู่ในตำแหน่งที่ดี
ศัพท์น่ารู้

IP Address คือ หมายเลขที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

@Link Popularity หัวใจของ การทำ SEO

ผมฟังจากการบอกต่อ ๆ กันมาจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ว่า การทำ SEO นั้นหัวใจอยู่ที่ Link Popularity ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดเรื่องของ Link Popularity กันครับ

Link Popularity คือ อะไร (What is Link Popularity ?)
Link Popularity คือ จำนวนหน้าเว็บที่ Links เข้ามาในหน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ พูดง่าย ๆ คือ จำนวน Links นั่นเอง ไม่มีความหมายใด ๆ แฝงอยู่

ประเภทของ Link Popularity (Type of Link Popularity)
Link Popularity สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

•One-Way Links หรือ 1-Way Links คือ การ Links แบบทางเดียว เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B แต่เว็บไซต์ B ไม่ต้องทำ Links กลับไปเว็บไซต์ A
•Two-Way Links หรือ 2-Way Links คือ การ Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B และ เว็บไซต์ B ต้องทำ Links กลับไปหาเว็บไซต์ B ด้วย
•Three-Way Links หรือ 3-Way Links คือ การ Links แบบสามทาง เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B แต่เว็บไซต์ B ให้เว็บไซต์ C ทำ Link กลับไปหาเว็บไซต์ A แทน
ซึ่งการทำ One-Way Links และ Three-Way Links ตามตัวอย่างข้างต้น จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์ B มากกว่าการทำ Two-Way Links ในมุมมองของ SEO


ประโยชน์ของ Link Popularity (Benefit of Link Popularity)

1.การที่มี Links เข้าหาเว็บไซต์มาก ทำให้โอกาสที่ Robot ของ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์มีมาก
2.เพิ่มโอกาส และ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
3.เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์

@Google Pagerank

Google Pagerank หรือ PR คือ ค่าลำดับคะแนนที่ Google ประเมินให้กับคุณภาพของเนื้อหา ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ (หลาย ๆ คนอาจเข้าใจผิดว่า Pagerank คือ การประเมินคะแนนของทั้งเว็บไซต์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ) โดยคะแนนที่ปรากฎจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 10 สำหรับหน้าเว็บเพจที่ไม่มีค่า Pagerankระบบจะแจ้งเป็น “No PageRank information available”


จะสามารถตรวจสอบค่า Pagerankได้อย่างไร ?
ค่า Pagerankสามารถตรวจสอบได้โดยใช้ Google Toolbar (สามารถ Download ได้ที่ http://toolbar.google.com/) ใช้ได้กับทั้ง Microsoft Internet Explorer และ Mozilla FireFox ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วจะมีแถบวัดค่า Pagerank แสดงผลลัพธ์ของแต่ละหน้า เมื่อเรียกดูหน้าเว็บเพจนั้น ๆ ผ่านโปรแกรม Web Browser

มีเว็บไซต์ไหนบ้างที่มีค่าคะแนน Pagerank สูง ๆ
เว็บไซต์เหล่านี้ จากการตรวจสอบ ณ. เวลาปัจจุบันมีค่า Pagerankสูงครับ (ทั้ง 3 เว็บเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก)

•http://www.adobe.com/ มีค่าคะแนน Pagerank 10
•http://www.w3.org/ มีค่าคะแนน Pagerank 10
•http://www.nasa.gov/ มีค่าคะแนน Pagerank 10

ทำอย่างไรจึงจะได้ Pagerank คะแนนสูง ๆ
Google มีการเปลี่ยนแปลงอัลกอลิธึมต่าง ๆ อยู่เสมอ และไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับสูตรการคิดคำนวนค่าคะแนน Pagerank ของหน้าเว็บเพจว่าคำนวนคะแนนอย่างไร แต่จากที่สังเกตในกลุ่มผู้สนใจ SEO ต่างมีความเชื่อว่าการทำเว็บให้เหมาะสมกับ Factor ต่าง ๆ ส่งผลให้ค่า Pagerank สูงขึ้น (สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ On-Page Factor และ Off-Page Factor ได้ที่นี่) โดยเฉพาะ Link Popularity ที่เป็นหัวใจของ การทำ SEO ถ้าได้ Backlinks จากหน้าเว็บเพจที่มีค่าคะแนน Pagerank สูง จะส่งผลให้คะแนน Pagerank ของหน้าที่ถูก Links สูงขึ้นตามไปด้วย

ต้องรอนานแค่ไหนหน้าเว็บจึงจะมีค่าคะแนน Pagerank ?
ปกติ Google จะอัพเดทค่า Pagerank ประมาณปีละ 3 - 4 ครั้ง การอัพเดทแต่ละครั้ง ไม่มีกำหนดการที่แน่นอน และการอัพเดทแต่ละครั้ง อาจทำให้ค่าคะแนนของหน้าเว็บเพจเปลี่ยนไปได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้หน้าเว็บเพจที่เคยมีค่าคะแนน Pagerank ถูกปรับคะแนนให้เท่าเดิม มากขึ้น หรือน้อยลง อยู่ที่สูตรการประเมินของการอัพเดทแต่ละครั้ง

Fake Pagerank ?
แน่นอนครับ ถ้าผมเขียนเรื่อง Google Pagerank แล้ว ก็คงต้องเขียนถึงเรื่องการหลอกค่าคะแนน Pagerank หรือ ที่เรียกกันว่า Fake PR ด้วย ค่าคะแนน Pagerank สามารถหลอกได้ด้วยหรือไม่ ต้องขอตอบว่า “ได้ครับ” (แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับเว็บที่ทำเลย) วิธีง่ายที่สุดที่นิยมทำกันคือ ทำการ Redirect ให้ Google เข้าใจผิด และสับสนระหว่างการตัดสินใจให้คะแนนหน้าเว็บเพจ เช่น เว็บ sample.com ทำ redirect ไปที่หน้าเว็บของ google.com ค่าคะแนน Pagerank ที่ sample.com ได้อาจจะเป็นค่าคะแนนของ google.com แทน

มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ว่า Fake Pagerank หรือไม่ ?
วิธีตรวจสอบอย่างง่ายทำได้โดยตรวจสอบจากหน้าเอกสารที่ Google บันทึกไว้ โดยการค้นหาผ่าน Google Search Box ด้วยคำค้นตัวอย่าง เช่น cache:sample.com ให้สังเกตการแสดงผลของผลลัพธ์ที่ได้ ว่าตรงกับหน้าเว็บปัจจุบันของ sample.com หรือไม่ ถ้าไม่ตรงกัน (อาจจะมองเห็นเป็นคนละเว็บต่างโดเมนกันเลย) แสดงว่า Fake ครับ

สุดท้าย อย่ายึดติดกับค่าคะแนนของ Pagerank ครับ เพราะในปัจจุบัน Pagerank มีบทบาทและความสำคัญกับการทำ SEO น้อยมาก ๆ และดูเหมือนว่าจะไม่มีความสัมพันธ์กับอันดับผลลัพธ์จากการค้นหา (SERP) ใน Google Search แล้ว


ที่มา : Thailand Search Engine Optimization Blog